ทุนการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำริให้ดำเนิน “โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ ทรงให้นำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงแก่เยาวชนไทยที่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษา ให้ได้รับโอกาสศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อเนื่องจนสำเร็จปริญญาตรีตามความสามารถของแต่ละคน อันเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพแก่เยาวชนไทย

        ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ทรงให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จ  พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)” ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการ และให้นำโครงการทุนการศึกษาฯ มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสืบต่อไป การดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาฯ มีกลไกคณะกรรมการมูลนิธิฯ กำกับดูแลอำนวยการระดับนโยบาย และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน ม.ท.ศ. ช่วยขับเคลื่อนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีกลไกคณะกรรมการระดับจังหวัดทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ร่วมดำเนินการคัดเลือก คัดสรร ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมจากทุกจังหวัด เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองให้รับทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. รวมทั้งติดตามดูแลนักเรียนผู้ได้รับทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ตลอดระยะเวลาที่เป็นนักเรียนทุนพระราชทานฯ จนสำเร็จการศึกษา และติดตามการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ทำจิตอาสาเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

        การดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปี ๒๕๖๔ มีนักเรียนผู้ได้รับทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. จากทุกจังหวัด ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องไปแล้ว รวม ๑๓ รุ่น จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวม ๒,๐๘๘ ราย เงินทุนพระราชทานที่ได้จัดสรรไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๖๐๗,๖๔๑,๒๐๕ บาท โดยนับตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงหลักการ แนวคิด แนวทางการดำเนินงานโครงการทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้นตามพระบรมราโชบาย มีการทำสัญญารับทุนและชดใช้ทุน และให้ผู้รับทุนฯ เข้ารับการฝึกและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่รับทุน เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพอย่างรอบด้าน บ่มเพาะให้เป็นคนดี มีทัศนคติที่ถูกต้องดีงาม มีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม โดยเริ่มนับตั้งแต่นักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ รุ่นที่ 9 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเด็กและเยาวชนไทยที่เรียนดี ประพฤติดี มีคุณธรรม ด้วยการพระราชทาน ทุนการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก่ผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มี โอกาสศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ สายอาชีพ และศึกษาต่อเนื่องไปจนจบ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ สาขาขาดแคลน สาขาด้านความมั่นคง และเข้าสู่การมีอาชีพอย่างมั่นคง รวมทั้งการพระราชทานทุนเป็นกรณี ๆ ตามที่คณะกรรมการ ม.ท.ศ. จะเห็นสมควร
  • เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ดีงาม ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ บ่มเพาะความมีวินัย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพความสามารถการเรียนรู้ ให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ อันจะช่วยสร้างพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชนไทย ผู้ได้รับทุนพระราชทานเป็นนักเรียนทุนในพระองค์ฯ สามารถเติบโตเป็นคนดี มีคุณภาพนำความรู้กลับไปทำงานพัฒนาท้องถิ่นชุมชน มีสัมมาชีพมั่นคง เป็นพลเมืองที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชำติ

การจัดสรรเงินทุนพระราชทาน

การจัดสรรเงินทุนพระราชทานต่อเนื่อง ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ให้กับนักเรียนทุนฯ จะใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีทุนพระราชทานฯ ของแต่ละคน โดยจะโอนให้เป็นงวด (ประมาณ 2-3 งวด ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม ของทุกปี) ซึ่งนักเรียนทุนฯ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบบัญชีเงินทุนพระราชทานฯ และ บริหารการเบิกจ่ายด้วยตนเอง จึงแนะนำให้จัดทำบัญชีรับจ่ายของตนไว้เพื่อสามารถบริหารจัดการการเงินของตน ให้พอสำหรับใช้ได้ตลอดทั้งปีการศึกษา ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่ระบบการดูแลนักเรียนทุนฯ ในแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาแล้ว จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยแนะนำต่อไป

วงเงินการจัดสรรทุนพระราชทาน

ยึดตามอัตราที่คณะกรรมการ ม.ท.ศ. กำหนดไว้เดิม โดยทุนระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ครอบคลุม 4 หมวดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • หมวดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษและเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาครอบคลุมค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมบำรุงการศึกษาและอื่น ๆ ที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บโดยตรงจากผู้เรียน โดยโครงการทุนฯ ม.ท.ศ. จะสนับสนุนให้ตามจำนวนค่าใช้จ่ายจริงที่มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเรียกเก็บจากผู้เรียน
  • หมวดค่าหอพักให้สำหรับผู้ที่ต้องเช่าหอพัก ตามจ่ายจริงโดยมีหลักฐานประกอบทั้งนี้ ต้องไม่เกินเดือนละ 2,000บาท หรือ 24,000 บาท/ปี
  • หมวดค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียนให้เท่ากันทุกราย เหมาจ่ายในอัตรา 10,000 บาท/ปี
  • หมวดค่าครองชีพให้เท่ากันทุกรายในอัตรา 48,000 บาท/ปี (เฉลี่ยเดือนละ 4,000 บาท)
  • หมายเหตุคณะกรรมการ ม.ท.ศ. มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงอัตราทุนฯ ม.ท.ศ. โดยปรับเพิ่มเฉพาะค่าใช้จ่ายหมวดค่าครองชีพ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 60,000 บาท/ปี (เฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท) เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

การติดตามดูแลนักเรียนทุนฯ ม.ท.ศ.

การติดตามดูแลนักเรียนทุนฯ ม.ท.ศ. จะดำเนินการอย่างเป็นระบบต่อเนื่องตลอดช่วงการเป็นนักเรียนทุนฯ โดยมีระเบียบมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ว่าด้วยการดูแลนักเรียนทุนโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. พ.ศ. 2561 เป็นระเบียบปฏิบัติที่นักเรียนทุน ม.ท.ศ. ต้องยึดมั่นถือมันปฏิบัติ เพื่อสามารถดำรงสถานะการเป็นนักเรียนทุนพระราชทานต่อเนื่องจนจบการศึกษา โดยนักเรียนผู้รับทุนฯ ม.ท.ศ. จะอยู่ในความดูแลของ ม.ท.ศ. ภายใต้ระเบียบมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.ว่าด้วยการดูแลนักเรียนทุนในโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้

1) ต้องประพฤติและปฏิบัติตามระเบียบวินัย ข้อบังคับของสถานศึกษา และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อกำหนดโครงการทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนทุนฯ ทั้งต่อการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน การประพฤติตามระเบียบวินัยของนักเรียน ดำรงตนอย่างมีศีลธรรม มีความกตัญญูและเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตอาสาช่วยเหลือพัฒนาท้องถิ่นชุมชน ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม รวมทั้งต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีวินัยตามระเบียบนักเรียน ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีทัศนคติที่ถูกต้องดีงาม มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ และรักษาสุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรงสมบูรณ์

2) ต้องตั้งใจและเพียรพยายามศึกษาอย่างดีที่สุด เพื่อพัฒนาความสามารถทางวิชาการ และมีความมุ่งมั่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ สาขาขาดแคลน สาขาด้านการเกษตร สาขาด้านความมั่นคง ในสายทหาร ตำรวจ หรือสาขาที่คณะกรรมการมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานฯ ม.ท.ศ. กำหนด โดยไม่หลีกเลี่ยง ละเลย ทอดทิ้ง ยุติหรือเลิกการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด เพื่อเข้าสู่การมีอาชีพได้อย่างมั่นคง

3) ต้องรักษาผลการเรียนให้อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยในทุกปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.00 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นค่ามาตรฐานของประเทศ ทั้งนี้ หากกรณีผลการเรียนปีแรกในชั้น ม.4/ปวช.1 มีผลการเรียนระดับ 2.00 – ไม่เกิน 3.00 ตลอดทั้งปีการศึกษา จะให้โอกาส ในการปรับตัวอย่างต่อเนื่องอีก 1 ปีการศึกษา เพื่อเร่งปรับตัวด้านผลการเรียนให้มีระดับดีขึ้นเกินกว่า 3.00 ทั้งนี้ หากไม่สามารถทำได้ อาจเสนอคณะกรรมการ พิจารณายกเลิกทุนในปีต่อไป

4) ต้องมีวินัยและความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินทุนพระราชทาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์และการจัดสรรทุนพระราชทาน รวมทั้งบริหารจัดการการเงิน ส่วนบุคคลของตนอย่างถูกต้อง มีการทำบัญชีรับจ่ายรายเดือนทุกเดือน และจะต้องรับผิดชอบจัดทำและส่งรายงานผลการเรียน ความประพฤติ และการใช้จ่ายเงินทุนพระราชทาน ในทุกภาคเรียนและทุกปีการศึกษาจนจบการศึกษา ตามที่กำหนด

5) ต้องเข้ารับการฝึกและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ตามหลักสูตรที่โครงการทุนฯ จัดเตรียมให้ในแต่ละช่วงชั้นอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย นับตั้งแต่รับทุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าตามระยะเวลาหลักสูตรกำหนด โดยความถี่ของการเข้ารับการฝึกและพัฒนาศักยภาพจะเป็นไปตามที่คณะกรรมการ ม.ท.ศ. และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน ม.ท.ศ. กำหนด

 

ทั้งนี้ โครงการทุนฯ จะจัดให้มีการเสริมทักษะด้านวิชาการ และการแนะแนวการศึกษาต่อ ให้กับนักเรียนฯ ต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกและพัฒนาศักยภาพตามสัญญาการรับทุนฯ กรณีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ เช่น สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการติววิชาการและการแนะแนว โดยใช้รูปแบบออนไลน์ ใช้ช่วงปิดภาคเรียนทดแทนภายใต้การดำเนินงานโครงการทุนฯ จัดให้มีการติดตามดูแลนักเรียนทุนฯ ตลอดระยะเวลารับทุนฯ และเมื่อจบการศึกษา โดยมีกลไก 3 ระดับ ประกอบด้วย

(1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน ม.ท.ศ. และติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษา
(2) คณะกรรมการคัดเลือก คัดสรรผู้รับพระราชทานทุนและประสานงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และศึกษาธิการจังหวัดเป็นเลขานุการ และ

(3) สถานศึกษา โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูประจำชั้น ครูผู้ดูแล และผู้ปกครอง ร่วมติดตามดูแล ทั้งนี้ ในระดับมหาวิทยาลัยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมติดตามดูแล อย่างรอบด้าน ทั้งด้านการเรียน ความประพฤติ และการใช้จ่ายเงินทุนฯ รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิต เพื่อสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที ซึ่งคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด จะมีบทบาทสำคัญในการติดตามผลการเรียน ความประพฤติ และการใช้จ่ายเงินทุนฯ ในทุกภาคเรียนและทุกปีการศึกษา พร้อมทั้งประสานกำกับให้สถานศึกษาจัดส่งรายงานผลการเรียนฯ ให้ฝ่ายเลขานุการโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด จะทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ให้ช่วยเหลือกรณีนักเรียนทุนฯ และครอบครัวประสบปัญหาวิกฤติ

การติดตาม กำกับ ดูแลนักเรียนทุนพระราชทานระหว่างศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับนักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ที่เข้าศึกษาต่อโดยเริ่มตั้งแต่ ปีการศึกษา 2556  (รุ่นที่ 2) จนถึงปัจจุบัน โดยงานแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองพัฒนานักศึกษา ดำเนินการรายงานข้อมูลต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ดังนี้

1) ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันสถานภาพนักศึกษา2) ตรวจสอบยืนยันค่าใช้จ่ายด้านการเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บจากผู้เรียนโดยตรง
3) ตรวจสอบค่าที่พักอาศัย
4) กรณีนักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ที่เข้าศึกษาต่อ ให้ตรวจสอบระยะเวลาเรียนที่จบตามหลักสูตรพร้อมรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
5) แจ้งรายชื่อนักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ไปยังแต่ละคณะเพื่อแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา ในการติดตามกำกับดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามข้อบังคับและหลักเกณฑ์ของผู้รับทุน โดยเคร่งครัด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำกรอบการจัดสรรทุนพระราชทานฯต่อเนื่อง ตามมติคณะกรรมการ ม.ท.ศ. ต่อไป โดยเงินทุนพระราชทานฯ จะโอนเข้าบัญชีธนาคารของนักเรียนทุนโดยตรง ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของนักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. อย่างเคร่งครัด

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือราษฎร โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสในการศึกษาหรืออยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นจากประสบการณ์ที่ทรงได้รับในระหว่างการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศ และจากการทรงปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ ทรงเห็นว่าหากคนมีสุขภาพไม่ดีเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แข็งแรง จะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ดี และ ถ้าเป็นเด็กนักเรียนก็ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ดี ดังนั้นในการเริ่มต้นงานพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารทั้งด้านโภชนาการ สุขภาพอนามัย การศึกษา อาชีพ ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม พระองค์จึงทรงเริ่มงานด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัยเป็นอันดับแรก โดยทรงเลือกใช้พื้นที่ของ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา

โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี พ.ศ. 2551 ส่งเสริมให้นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับแต่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากครอบครัวมีฐานนะยากจน ได้มีโอกาสศึกษาในระดับสูงขึ้นเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์สำหรับใช้ในการประกอบอาชีพ และนำกลับไปพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เข้าศึกษาต่อโดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมา  โดยงานแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองพัฒนานักศึกษา เป็นหน่วยงานประสานเกี่ยวกับการติดตาม ดูแล นักศึกษาทั้งด้านความประพฤติ ผลการเรียน และการใช้จ่ายเงินพระราชทาน ร่วมกับคณะที่นักศึกษาสังกัด และ อาจารย์ที่ปรึกษา 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนจากโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น ตามความสามารถและความเหมาะสมตามระดับสติปัญญา
  • เพื่อให้นักเรียนจากถิ่นทุรกันดาร สามารถนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
  • เพื่อปลูกฝังและพัฒนานักเรียนโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้เห็นคุณค่าของการศึกษา ความสำนึกในความเป็นคนไทย มีความรักถิ่นฐาน รักประเทศ และรักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข
  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนตามโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญก้าวหน้าทั่วกัน

คุณสมบัติของผู้รับทุน

  • เป็นนักเรียนที่ศึกษาอย่างต่อเนื่องของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน หรือโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในโครงการตามพระราชดำริ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
  • เป็นผู้ที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อเนื่องจากสถานะทางครอบครัวยากจน และสภาพทางภูมิศาสตร์ไกลคมนาคม
  • มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 50
  • มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • มีเจตคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  • มีความประพฤติดี ขยัน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
  • ผู้ปกครองมีความเต็มใจสนับสนุนและยอมให้ศึกษาต่อในสายสามัญ หรือสายอาชีพในระดับสูง
  • มีสุขภาพพลานามัยไม่เป็นอุปสรรคในการศึกษา
  • สามารถไปศึกษาและอยู่โรงเรียนประจำ หรือโรงเรียนรัฐบาลทุกสังกัด ที่ห่างไกลภูมิลำเนาได้

เงินพระราชทาน

เป็นเงินค่าใช้จ่ายพระราชทานต่อเนื่องจากสถานศึกษาเดิม โดยในระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏนักศึกษาจะได้รับเงินพระราชทาน โดยแบ่งจ่าย 2 ภาคเรียนๆ ละ 22,000 บาท และค่าลงทะเบียนเรียนตามจริง

นักศึกษาสามารถเบิกเงินพระราชทานเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าลงทะเบียนเรียน
  • ค่าเครื่องแบบ ค่าเครื่องแต่งกาย
  • ค่าเช่าที่พักอาศัยขณะศึกษา
  • ค่าพาหนะ
  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการศึกษา

หน่วยงานประสานงานโครงการฯ

  • สำนักพระราชวัง สำนักงานโครงการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโทรศัพท์ 0-2280-5032 ต่อ 13, 33

 

การกำกับติดตาม กำกับ ดูแลนักศึกษาระหว่างศึกษา

  • กองพัฒนานักศึกษาดูแลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินพระราชทานให้ตรงตามพระราชประสงค์ และควบคุมการเบิกจ่ายโดยกำหนดให้เป็นลักษณะการเบิกใช้เมื่อจำเป็น 
  • อาจารย์ที่ปรึกษาดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามข้อบังคับและหลักเกณฑ์ของนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ โดยเคร่งครัด

ขั้นตอนการเบิกเงินพระราชทาน

  • นักศึกษาเขียนบันทึกข้อความขอเบิกเงินทุนการศึกษาเสนอต่อเจ้าหน้าที่ทุนการศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ทุนการศึกษา ตรวจสอบความถูกต้อง เสนอต่อหัวหน้างานทุนการศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ทุนการศึกษา เสนอบันทึกขอเบิกเงิน เสนอต่อผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ทุนการศึกษา เสนอใบเบิกจ่ายเงินพระราชทาน ต่อผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา
  • นักศึกษารับเงินพระราชทาน
  • เจ้าหน้าที่บันทึกการเบิกจ่ายเงินทุนการศึกษา

การพ้นสภาพนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ

  • พ้นสภาพโดยปริยาย
  • สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
  • ขอลาออกจากการเป็นนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
  • ถึงแก่กรรม
  • สำนักพระราชวังสั่งให้พ้นสภาพ
  • ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นในพระราชานุเคราะห์ฯ
  • มีผลการเรียนต่ำ ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 00
  • ออกจากสถานศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ย้ายสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวัง
  • ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของในพระราชานุเคราะห์ โดยเคร่งครัด
  • ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือ ของทางราชการ หรือ ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรงจนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย หรือประพฤติตนเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

 

    

การก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เมื่อวันที่ 25 ต่อกับวันที่ 26 ตุลาคม 2504 ได้เกิดพายุโซนร้อน ชื่อ “แฮเรียต” พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทยยังความเสียหายให้เกิดแก่จังหวัดภาคใต้ถึง 12 จังหวัด ในคืนวันที่ 27 ตุลาคม 2505  เวลาประมาณ 19.00 น. นายปกรณ์ อังศุสิงห์ นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ได้รับโทรศัพท์จากคุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวังซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองมหาดเล็กว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นห่วงผู้ประสบภัย และทรงติดต่อขอเครื่องบินจากกองทัพอากาศไว้แล้ว ขอให้รีบเดินทางไปช่วยเหลือโดยด่วน ขณะนั้น กรมประชาสงเคราะห์ ได้เตรียมสิ่งของไว้พร้อมแล้ว จึงเดินทางไปในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 28 ตุลาคม 2505 นายปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ พร้อมด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย อาทิ หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และหลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ อธิบดีกรมโยธาเทศบาล ได้เดินทางไปพร้อมกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกา ได้มีกระแสรับสั่งให้ร่วมเดินทางไปกับกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อทำการสงเคราะห์และบรรเทาทุกข์ในครั้งนี้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถานีวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประกาศโฆษณาเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์และสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทรงรับเงินและสิ่งของด้วยพระองค์เอง ประชาชนได้หลั่งไหลเข้าสู่สถานีวิทยุ อส. ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน มีผู้บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลถึง 11 ล้านบาทเศษ และสิ่งของประมาณห้าล้านบาท ส่วนผู้ที่ไม่สามารถบริจาคทรัพย์ และสิ่งของได้ก็บริจาคแรงงานช่วยขนสิ่งของ ที่น่าปลื้มใจก็คืองานนี้ทำโดยอาสาสมัคร ซึ่งส่วนมากเป็นนิสิต นักศึกษาลูกเสือและนักเรียน ได้ทำการจัดและขนส่งสิ่งของเหล่านั้นไปบรรเทาภัยแก่ประชาชน โดยมีนายเจริญ มโนพัฒนะ รองอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ รักษาการแทนอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเงินและ สิ่งของไปดำเนินการตามพระราชประสงค์ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ และภายหลัง พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1,2,3,4,5 ถึง 12” ตามลำดับ ( โดยในปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้งสิ้น 58 โรงเรียนทั่วประเทศ )  

พระราชทานกำเนิดมูลนิธิ

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงพระราชทานเงินสามล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานนามว่า “มูลนิธิราชประชา-นุเคราะห์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ใน“พระบรมราชูปถัมภ์” กับทรงดำรงตำแหน่งพระบรมราชูปถัมภกแห่งมูลนิธินี้ด้วย ชื่อของมูลนิธินี้หมายความว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วย  

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๐๖ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์โดยได้ทรงมีพระราชดำริว่าภัยธรรมชาติ หรือสาธารณภัยอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ไม่มีผู้ใดจะคาดหมายได้ดังที่ได้เกิดขึ้นที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และอีกหลายจังหวัดในภาคใต้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งสำนักงานมูลนิธิอยู่ในบริเวณกรมประชาสงเคราะห์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้พระราชทานกำเนิดมูลนิธิฯ ได้ทรงแต่งตั้งนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นนายกมูลนิธิฯ คนแรกและดำรงตำแหน่งมาจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๙

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ ได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และพระราชดำริของพระบรมราชูปถัมภก ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือด้านการศึกษา อาทิ มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ทั้ง ๕๘ โรงเรียน และโรงเรียนที่มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนอีก ๘ โรงเรียน รวม ๖๖ โรงเรียน มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬาและมอบทุนพระราชทานเพื่อการศึกษาสงเคราะห์ต่อเนื่องให้แก่นักเรียนเรียนดีที่จบการศึกษาจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิตจากสาธารณภัย ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาสูงสุดตามความสามารถ โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากสถานศึกษาต่างๆ เป็นอย่างดี                   

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ในปัจจุบัน ( ปีพ.ศ. 2561 )

  1. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
  2. เพื่อให้การสนับสนุนด้านการป้องกันสาธารณภัยทั่วประเทศ
  3. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นส่วนรวมแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนประการอื่น ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร และได้รับความเห็นชอบจากนายกมูลนิธิ
  4. เพื่อให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กกำพร้าหรือเด็กอนาถาที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์และให้การสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์
  5. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

 

คุณสมบัติของผู้รับทุน

            เป็นนักเรียนที่ศึกษาอย่างต่อเนื่องของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้ที่ครอบครัวประสบสาธารณภัยและมีผลการเรียนดี

เงินพระราชทาน

เป็นเงินค่าใช้จ่ายต่อเนื่องจากสถานศึกษาเดิม โดยในระดับอุดมศึกษานักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท  โดยแบ่งจ่าย 2 ภาคเรียน ๆ ละ 15,000 บาท ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ของนักศึกษาโดยตรง นักศึกษาสามารถเบิกเงินทุนการศึกษาเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าลงทะเบียนเรียน
  • ค่าเครื่องแบบ ค่าเครื่องแต่งกาย
  • ค่าเช่าที่พักอาศัยขณะศึกษา
  • ค่าพาหนะ
  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการศึกษา

หน่วยประสานงาน

  • กลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร
  • ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เว็ปไซต์ rajk.org

การติดตาม กำกับ ดูแลนักศึกษาระหว่างศึกษา

     กองพัฒนานักศึกษา 

ดูแลเกี่ยวกับการติดตาม-รายงานผลการเรียน และบัญชีรายรับ-รายจ่าย แต่ละภาคการศึกษา          

     อาจารย์ที่ปรึกษา 

ดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติ ตามข้อบังคับและหลักเกณฑ์ของนักศึกษาทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ  โดยเคร่งครัด

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ( ม.น.ข.)

   ความเป็นมาของมูลนิธิฯ

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ชื่อย่อ ม.น.ข. “ Foundation  for  Needy Students under  Royal Patronage  of  Her  Majesty  the  Queen” มีกำเนิดเนื่องมาจากข้อเสนอแนะของที่ประชุมสัมมนาว่าด้วยจริยศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2504 หลังจากนั้นบุคลากรที่เข้าร่วมสัมมนาและบรรดาผู้ที่เสนอแนะได้ร่วมกันจัดตั้ง “มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน” ขึ้นโดยเงินทุนซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคในเดือนสิงหาคม 2504  และเมื่อความทราบถึงพระกรรณสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินซึ่งมีผู้จงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาท ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2504 เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ  ทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์  เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2504 ด้วยและในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์อุปถัมภิกาของมูลนิธิฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินสมทบทุนมูลนิธิฯ ตลอดมา  และยังทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนแก่มูลนิธิฯ หลายประการ  ซึ่งคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ  ได้น้อมเกล้าฯ รับไว้เป็นหลักในการบริหารงานของมูลนิธิฯ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม

ระเบียบทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์”

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับความอนุเคราะห์จากศิลปินผู้มีชื่อเสียงรับเป็นผู้แสดงละครประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เรื่อง “ราโชมอน” ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ประพันธ์บทละครเป็นภาษาไทย รวมทั้งรับเป็นผู้อำนวยการแสดง กำกับการแสดงและร่วมแสดงละครดังกล่าวด้วย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2508 เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิฯ และทางมูลนิธิฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรละครเรื่องนี้ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจำนวน 51,111 บาท เป็นทุนประเดิม และพระราชทานนามทุนนี้ว่า ทุน “นวฤกษ์” โดยให้มูลนิธิฯ เก็บแต่ดอกผลไปใช้เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลน ในการพระราชทานทุนนี้ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่าเพื่อเป็นนิมิตอันดี ใคร่จะให้ผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งนี้บริจาคเงินเป็นตัวเลขที่รวมกันแล้วได้ 9 หากผู้มีจิตศรัทธาท่านใดประสงค์จะบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เป็นจำนวนเงินอย่างน้อยตั้งแต่ 70,002 บาท ขึ้นไป ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเป็นทุนสาขาตามแต่ผู้บริจาคประสงค์คือ “ทุนนวฤกษ์ สาขา ……”

ทุนการศึกษาพระราชทานนี้ มีความมุ่งหมายที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นคนดี และมีความประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์ให้ได้ศึกษาต่อภายในประเทศจนกว่าจำสำเร็จการศึกษาในระดับการศึกษาตามสมควรแก่อัตภาพ

นับตั้งแต่มูลนิธิฯ ได้รับพระราชทานทุนจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นทุนประเดิมในปี พ.ศ. 2508 แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2511 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ และยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานเพิ่มเติมอีก จำนวน 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2514 และ 2515 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่มูลนิธิฯ และนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ขาดแคลนเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนพระราชทาน “นวฤกษ์” อีกเป็นระยะๆ ซึ่งมูลนิธิฯ ได้นำเงินที่ได้รับพระราชทานรวมกับเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลไว้เก็บดอกผล เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ขาดแคลน ภายใต้การดูแลและคัดเลือกของคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาพระราชทานทุน “นวฤกษ์” ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ 

เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีความประพฤติดี  ขยัน  อดทน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อ สายอาชีพ ระดับ ปวช. ปวส. และระดับปริญญาตรีตามสมควรแก่ศักยภาพของผู้เรียนโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ

คุณสมบัติของผู้สมัครรับทุน ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) 

  1. เป็นนักเรียน ซึ่งได้รับการคัดเลือกขั้นต้นจากสถานศึกษาของผู้สมัครขอรับทุน       
  2. กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนในปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 50
  3. มีฐานะยากจน สถานศึกษาเห็นว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือ
  4. มีความประพฤติเรียบร้อย และมีความขยันหมั่นเพียร
  5. สุขภาพไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

มูลค่าเงินทุน  ปรับเพิ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ดังนี้

  • ระดับปริญญาตรี (คณะทั่วไป) ปีละ 8,000 บาท
  • ระดับปริญญาตรี (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ปีละ 10,000 บาท
  • ระดับปริญญาตรี (คณะแพทยศาสตร์) ปีละ 10,000 บาท

มูลค่าเงินทุนอาจมากกว่าที่มูลนิธิฯ กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้บริจาคที่ให้ทุนเป็นรายปี

การเพิกถอนสิทธิของผู้รับทุน

  1. ตาย
  2. ถูกให้ออกจากสถานศึกษา
  3. สละสิทธิ์ โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครองหรือจากผู้บริหารสถานศึกษา
  4. คณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาเห็นสมควรงดให้ทุน
  5. เมื่อมูลนิธิฯ ไม่ประสงค์จะให้ทุนต่อไป

การบริหารทุน

  1. มูลค่าของทุน อาจจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงได้ หากคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ พิจารณาเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
  2. คณะกรรมการบริหารทุนการศึกษา “นวฤกษ์” ขอความร่วมมือจากสถานศึกษา เมื่อนักเรียนได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ แล้ว  ดังนี้

         ระดับอุดมศึกษา  ผู้รับทุนต้องรายงานผลการเรียนต่อมูลนิธิฯ ทุกภาคเรียนอย่างเร็วที่สุด  หรือจะส่งผ่านให้ทางสถานศึกษาแจ้งมูลนิธิฯ ก็ได้

การเบิกจ่ายเงินทุน 

มูลนิธิฯ จะแบ่งจ่ายเงินทุนการศึกษาปีละ 2 ครั้ง  ภาคเรียนที่ 1  เดือน มิถุนายน   ภาคเรียนที่ 2 เดือนพฤศจิกายน  ของทุกปี ตามมูลค่าของทุนที่ผู้รับทุนได้รับ  โดยจัดส่งให้ผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้รับทุนศึกษาอยู่  โดยมีเงื่อนไขว่ามูลนิธิฯ  จะไม่จัดส่งเงินทุนการศึกษาภาคเรียนต่อไปจนกว่าจะได้รับผลการเรียนของผู้รับทุนในภาคเรียนที่ผ่านมา

**มูลนิธิฯ จะใช้ระเบียบทุนการศึกษานี้ตั้งแต่ปีการศึกษา  2560 เป็นต้นไป

ระเบียบทุนการศึกษา ม.น.ข.

ตามที่มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2504 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน ทั้งในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค และการให้ทุนการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2506 เป็นต้นมานั้น ต่อมาได้มีบริษัทองค์การและเอกชน มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการบริจาคมีทั้งที่บริจาคเป็นรายปี หรือบริจาคเป็นเงินก้อนให้มูลนิธิฯ เก็บเฉพาะดอกผลเพื่อเป็นทุนการศึกษา และตั้งชื่อทุนตามความประสงค์ของผู้บริจาค ซึ่งทุนการศึกษานี้มีชื่อว่า ทุน “ม.น.ข.”

คณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษา “ม.น.ข.” มีท่านอุปนายกมูลนิธิฯ (หม่อมราชวงศ์สายสิงห์ ศิริบุตร) เป็นประธาน คณะกรรมการคือผู้บริหารสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ทั่วประเทศ และเลขาธิการคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ เป็นเลขานุการ

วัตถุประสงค์

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2504 มูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน ทั้งในด้านเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดจนในด้านทุนการศึกษาด้วย  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2506 เป็นต้นมา  ได้มีบริษัท องค์การ และเอกชนมีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาเป็นจำนวนมาก  ซึ่งทุนที่มูลนิธิฯ ได้รับบริจาคส่วนใหญ่นี้เป็นทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มุ่งหมายจะช่วยนิสิต นักศึกษา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย และเป็นผู้ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์  ถ้าหากไม่ได้รับทุนช่วยเหลือจะไม่สามารถศึกษาจนจบหลักสูตรขั้นปริญญาตรีได้

มูลค่าเงินทุน จะปรับเพิ่มมูลค่าเงินทุนตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ดังนี้

      ระดับอุดมศึกษา ( มูลค่าทุนเริ่มต้นที่ 8,000 บาทต่อปี ) ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 – จบปริญญาตรี

  • คณะทั่วไป8,000 บาทต่อปี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์9,000  บาทต่อปี
  • คณะแพทยศาสตร์ เริ่มต้นที่  10,000 บาทต่อปี

 

คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน มีดังต่อไปนี้

  1. เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ นิสิต นักศึกษา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย
  2. มีอายุระหว่าง 16-20 ปี
  3. มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
  4. มีฐานะยากจน โรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ   เห็นว่าต้องได้รับความช่วยเหลือจึงจะมีโอกาสศึกษาจนจบหลักสูตรปริญญาตรี
  5. มีความประพฤติเรียบร้อย และมีความขยันหมั่นเพียร
  6. มีสุขภาพที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

 

การเพิกถอนสิทธิ์ของผู้รับทุน

  1. ตาย
  2. ถูกให้ออกจากสถานศึกษา โดยมีความผิด หรือประพฤติตนเสื่อมเสียไม่สมควรแก่วัยหรือแก่ สภาพของนักศึกษา
  3. ขาดคุณสมบัติของผู้รับทุน ข้อ 4 ,5 และ 6
  4. สละสิทธิ์ โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครอง
  5. สอบตกตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และกรรมการบริหารทุนการศึกษาเห็นควรงดให้ทุน
  6. ลาออกเพื่อสอบเข้าเรียนใหม่โดยไม่เปลี่ยนชั้นปี และไม่แจ้งให้มูลนิธิฯทราบ
  7. เมื่อมูลนิธิฯ ไม่ประสงค์จะให้ทุนต่อไป

 

การบริหารทุน

ทุนการศึกษานี้ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,000 บาทต่อปี หรือแล้วแต่ความประสงค์ของเจ้าของทุน โดยจะเพิ่มให้เป็นรายๆ ไป เหรัญญิกของมูลนิธิฯ หรือผู้ทำการแทนจะจ่ายเงินทุนให้เป็นงวดๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง  ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาของมูลนิธิฯผู้ได้รับทุนจะได้รับทุนการศึกษา ปีละ 2 ครั้ง จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี  ดังนั้นจึงต้องรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ  เป็นประจำทุกภาคเรียน ในเดือนเมษายน และพฤศจิกายน ของทุกปี มิฉะนั้นจะไม่ได้รับทุนการศึกษา ในภาคเรียนต่อๆ ไป

**ระเบียบทุนการศึกษาฉบับนี้ เป็นแต่เพียงการแจ้งให้ทราบเท่านั้น ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด

การติดตาม กำกับ ดูแลนักศึกษาระหว่างศึกษา

  • กองพัฒนานักศึกษาดูแลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทุนการศึกษา ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
  • อาจารย์ที่ปรึกษาดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามระเบียบของนักเรียนทุนฯ โดยเคร่งครัด  

หน่วยประสานงาน

  • สำนักงานมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปภัมภ์ (ม.น.ข.) ตั้งอยู่ ณ ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร.02-391-3796 , 02-391-2324
  • forneedystudent.org

 

โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี

ที่มา

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารีเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา และสามเณรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีอัตราการเรียนต่อต่ำ ได้มีโอกาสเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบระดับปริญญาตรี และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วควรกลับไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม

เมื่อผู้รับทุนการศึกษาโอนหรือย้ายสถานศึกษา หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นจะได้รับการจัดสรรทุนการศึกษาต่อเนื่องจนจบปริญญาตรีรวมถึงการได้รับการดูแลช่วยเหลือส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านการเรียนรู้และความสามารถพิเศษ ตลอดจนให้มีทักษะชีวิต ทักษะทางสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้วสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้และศึกษาต่อเนื่องจนจบระดับปริญญาตรีรวมทั้งให้การดูแลการใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาของผู้รับทุนการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา และสามเณรในสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีอัตราการเรียนต่อต่ำ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบระดับปริญญาตรี
  2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับทุนการศึกษากลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเองหลังสำเร็จการศึกษา
  3. เพื่อปลูกฝังและพัฒนานักเรียน นักศึกษา และสามเณรในสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้เห็นคุณค่าทางการศึกษา มีความสำนึกในความเป็นคนไทยรักถิ่นฐานรักประเทศและรักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เงื่อนไขการรับทุนการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร
  • นักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษา ภาคเรียนละ 27,500 บาท
  • นักศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบต่าง ๆ ตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
  • นักศึกษาจะหมดสิทธิ์การรับทุน หากพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา หรือผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติผู้รับทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี 

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสถานศึกษาทุกสังกัดที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีอัตราการเรียนต่อต่ำซึ่งประสงค์จะศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือสามเณรที่ประสงค์จะศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  2. เป็นผู้ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากสภาพครอบครัวมีฐานะยากจนอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล และการคมนาคมยากลำบาก
  3. เป็นผู้มีความประพฤติดีมีความมุ่งมั่น ขยัน หมั่นเพียรที่จะศึกษาให้สำเร็จจนจบตามหลักสูตรระดับปริญญาตรีและผู้ปกครองมีความเต็มใจสนับสนุนและยินยอมให้ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาตรี
  4. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 2 ไม่ต่ำกว่า 50
  5. ไม่เป็นบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
  6. ไม่รับทุนการศึกษาต่อเนื่องใด ๆ จนถึงระดับปริญญาตรียกเว้นทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  7. เป็นผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์และมีเจตคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  8. มีสุขภาพแข็งแรง
  9. มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตและช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเมื่อสำเร็จการศึกษาโดยสามารถพิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาของสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นและอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบ
  10. มีแนวโน้มที่จะศึกษาสำเร็จตามหลักสูตร โดยสามารถพิจารณาจากระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) และข้อมูลเชิงประจักษ์แต่ละระดับการศึกษา และอื่น ๆเป็นองค์ประกอบเงื่อนไขของการรับทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี

ข้อกำหนดตลอดระยะเวลาการรับทุนการศึกษา

โดยไม่มีภาระผูกพันที่ต้องใช้ทุนคืนเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรีดังนี้

  1. ต้องเข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบระดับปริญญาตรีตามหลักสูตรและระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด และประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม ชุมชน และสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องในระหว่างการรับทุนการศึกษา โดยกำหนดให้ผู้รับทุนการศึกษารายงานผลการร่วมกิจกรรมดังกล่าวเสนอต่อสถานศึกษาทุกปีการศึกษา และสถานศึกษาสรุปรายงานภาพรวมเสนอส่วนราชการผู้จัดสรรทุนการศึกษา เพื่อรายงานกระทรวงศึกษาธิการทราบ ก่อนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และก่อนจบระดับปริญญาตรี

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การรับทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารีในระดับปริญญาตรีผู้รับทุนการศึกษาจะต้องผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งรายชื่อผู้รับทุนการศึกษาและสถานศึกษาที่ผู้รับทุนการศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เพื่อดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาจัดสรรทุนการศึกษาต่อเนื่องให้แก่ผู้รับทุนการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร

เหตุระงับสิทธิ์ของผู้รับทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี

  1. เสียชีวิต
  2. พ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา ลาสิกขา
  3. กระทำผิดกฎ ระเบียบ วินัยของสถานศึกษา และถูกลงโทษฐานความผิดตามระเบียบของสถานศึกษาอย่างร้ายแรง
  4. รับทุนการศึกษาต่อเนื่องจากแหล่งทุนอื่น ๆ ยกเว้นกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
  5. ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด

 

ความเป็นมาของทุนการศึกษามูลนิธิท่านน้อย เปาโรหิตย์ และ เจ้าพะยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)

มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย สมุหพระนครบาล องคมนตรี ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล “เปาโรหิตย์” (Pauro hitya) เจ้าพระยามุขมนตรี มีนามเดิมว่า “อวบ” เป็นบุตร ขุนศรีธรรมราช (สมบุญ) กับ ท่านน้อย  ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระมหาราชครู ปุโรหิตาจารย์ (บุญรอด)

เจ้าพระยามุขมนตรี เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2419 ได้ศึกษาวิชาหนังสือไทยที่วัดจักรวรรดิราชาวาส และที่พระตำหนักสวนกุหลาบ เรียนจบประโยค 2 สอบไล่ได้รับรางวัลชั้นที่  1 และได้รับประกาศนียบัตรชั้นเปรียญพิเศษของคณะศึกษาการปกครอง มณฑลอยุธยาและปราจีน เมื่อ พ.ศ.2450

เริ่มรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเสมียนในกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2435 ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 20 บาท ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น นายเวรกรมรับฟ้องกระทรวงยุติธรรม ภายหลังเป็นผู้ช่วยยกกระบัตรศาลโปริสภาที่ 1 ถึง พ.ศ. 2439ต่อมาได้อุปสมบทในสำนักวัดเทพศิรินทราวาส

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชนกูลวิบูลยภักดีพิริยพาห ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ภายหลัง พระยาราชนกูลวิบูลยภักดีฯ ได้ว่าราชการแทนสมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีน     ในปีพ.ศ. 2458 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอุปราชมณฑลภาคอีสานไปรับราชการที่หัวเมืองอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้า” ให้ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ คราวที่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองผ้ายเหนือไปจนถึงมณฑลภาคพายัพ พระยารารับใช้ใกล้ชิดตามหน้าที่ ได้ทรงคุ้นเคย ชอบพอพระราชอัธยาศัย ต่อมาเมื่อตำแหน่งสมุหพระนครบาลหัวหน้าพนักงานการปกครองท้องที่มณฑลราชธานีว่างลง ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระยาราชนกูลมีสติปัญญาสามารถควรแก่ตำแหน่งอันสำคัญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุทพระนครบาล กลับเข้ามารับราชการ ในกรุงเทพฯ พระยาราชนกูลได้รับราชการด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มีความรู้ความสามารถ เมื่อรับราชการตำแหน่งใดก็ทำความเจริญ เป็นผลดีเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ทางราชการ แม้ในราชการจร เช่น เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนรัฐบาลสยามณ คณะข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส – สยาม ประจำแม่น้ำโซง ปรึกษาระเบียบการชายแดนกับข้าหลวงฝรั่งเศส ก็ได้ปฏิบัติราชการไต้อย่างเรียบร้อย สมดังพระราชประสงค์ มีสติปัญญาพิจารณาดำเนินงานราชการในหน้าที่ใด้โดยแยบคายอุบายที่ชอบ เอาใจใส่ดูแลเกื้อกูลประชาราษฎ ให้ปราศจากทุกข์ บำรุงสุข มีเมตตา มีความสุจริต เที่ยงธรรมสมหน้าที่ข้าราชการผู้มีความภักดี มีอัธยาศัยเรียบร้อยเป็นที่นิยม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการมา ณ บัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนา พระยาราชนกูสวิบูลยภักดีพิริยพาห ขึ้นเป็นเจ้าพระยามีราชทินนามว่า เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหนครบาล ราชบทบาลยมหาสวามิภักดิ์ ฯลฯ

เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2476 อายุ 58 ปี ท่านเป็นต้นสกุล เปาโรหิตย์ โดยท่านเจ้าพระยามุขมนตรีได้ขอพระราชทานนามสกุล “เปาโรหิตย์” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยขอเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 นามสกุลเลขที่ 254 ประกาศเมื่อวันที่5 กันยายน พ.ศ. 2456 จะเห็นว่าชื่อมูลนิธิมีชื่อท่านและน้อย เปาโรหิตย์ มารดาของท่านเอง

 ระเบียบมูลนิธิท่านน้อย เปาโถหิตย์ และ เจ้าพระยามขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน และนิสิตนักศึกษา พ.ศ. 2553

มูลนิธิท่านน้อย เปาโลหิตย์ และ เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) มีระเบียบการให้ทุนการศึกษาต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 มูลนิธิฯ จะให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา   มีผลการเรียนดี และมีความประพฤติเรียบร้อย ทำตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ข้อ 2 คุณสมบัติของผู้ที่ขอรับทุนการศึกษา คือ

  1. 1 ต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ของสถาบันการศึกษาของรัฐ ที่คณะกรรมการกำหนด

     2.2 จะต้องไม่เป็นผู้รับทุนอื่นในเวลาเดียวกัน

     2.3 มีความขยันหมั่นเพียรและตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีผลการเรียนแต่ละเทอมอยู่ในเกณฑ์ที่             คณะกรรรมการมูลนิธิ ฯ เป็นผู้กำหนด

     2.4 มีความประพฤติเรียบร้อย และอยู่ในศีลธรรมอันดี

     2.5 เป็นผู้บิดา – มารดา หรือผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนหรือมีบุตรอยู่ในอุปการะหลายคน

     2.6 มีสุขภาพดีพอที่จะศึกษาเล่าเรียน ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

     2.7 สำหรับนิสิต นักศึกษา การสอบเปลี่ยนคณะ/ภาควิชา ในปีถัดไป จะไม่ได้รับการ         

          พิจารณาให้รับทุน

 

ข้อ 3 การขอทุนการศึกษาในปีถัดไป ต้องแสดงหลักฐานการสอบผ่านแต่ละวิชาตามที่ลงทะเบียนเรียนไว้หากผลการสอบไม่ผ่าน จะถือว่าหมดสิทธิการขอรับทุนการศึกษาในปีถัดไป เว้นแต่กรณีจำเป็นจากการเจ็บป่วยและมีหลักฐานทางการแพทย์รับรอง จะได้รับการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

ข้อ 4 นักเรียน นิสิต นักศึกษายื่นความจำนงเพื่อขอรับทุนการศึกษาต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นพร้อมหลักฐานเอกสารตามที่คณะกรรมการกำหนดและมีผู้ปกครองลงลายมือชื่อรับรองความเป็นจริง เมื่อผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากสถาบันการศึกษาแล้ว สถาบันการศึกษาจะนำเรื่องเสนอให้คณะกรรรมการมูลนิธิฯพิจารณาให้ทุนการศึกษา กำหนดตัวบุคคลผู้รับทุนของแต่ละปีการศึกษา และจำนวนทุนที่มอบให้

ข้อ 5 มูลนิธิฯ จะพิจารณาให้จำนวนเงินทุนการศึกษา ตามความเหมาะสม

ข้อ 6 จำนวนทุนที่มูลนิธิฯ จะให้แต่ละปี ให้เป็นไปตามที่คณะกรรรมเสนอในแต่ละปีการศึกษาและค่าบำรุงต่าง 1 ตามระเบียบของ

ข้อ 7 เงินทุนการศึกษา ให้นำไปจ่ายเป็นค่าบำรุงการศึกษาสถานศึกษา รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายเป็ดเตล็ดอื่น ๆ ในการศึกษาเล่าเรียน

โครงการทุนการศึกษา บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด

ปี พ.ศ. 2535  บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด  ได้ดำเนินธุรกิจครบ 20 ปี จึงจัดทำโครงการการกุศลขึ้นเพื่อตอบแทนสังคม โดยใช้ชื่อว่า “โครงการสงเคราะห์หนูผู้ยากไร้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนยากจนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและชนบทที่ห่างไกล เนื่องจากเล็งเห็นว่ายังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนมากที่ยังขาดโอกาสทางสังคม ขาดแคลนปัจจัยสำคัญ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเรียนและการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยที่ผ่านมา ทางบริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ได้ดำเนินกิจกรรมตอบแทนสังคมมากมาย ภายใต้โครงการสงเคราะห์หนูผู้ยากไร้ ด้วยการบริจาคสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ อาทิ วัสดุครุภัณฑ์ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การติดตั้งระบบไฟฟ้า รวมทั้งรูปแบบของเงินสนับสนุนโครงการต่าง ๆ

ปี พ.ศ. 2544 บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด เล็งเห็นว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่กำลังมองหาโอกาส เป็นโอกาสจากผู้ที่มี มอบให้ผู้ที่ขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังใจ กำลังกาย กำลังทรัพย์ หรือกำลังศรัทธา  มองว่า การให้โอกาสคือ การสร้างคนดี สิ่งดี ๆ ให้บ้านเมือง สร้างความคิดดี ๆ ที่จะทำให้เมืองไทยเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาหาความรู้ เด็กและเยาวชน คือ ทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านสังคมและคุณภาพชีวิต บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด มีความตั้งใจที่จะมอบโอกาสและสร้างรอยต่อทางการศึกษา ให้แก่เด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลน จึงได้จัดตั้ง “โครงการทุนการศึกษา บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด” ขึ้นในปี พ.ศ. 2544

โดยกำหนดเป็นนโยบาย “เด็กและเยาวชนที่ยากจน และขาดโอกาสทางการศึกษาทั่วราชอาณาจักร จะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันอย่างต่อเนื่อง โดยจะรับทุนการศึกษานับตั้งแต่ปีแรกที่เข้าโครงการทุนการศึกษาฯ ต่อเนื่องไป จนสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือระดับการศึกษาที่สามารถศึกษาได้” และยังตระหนักถึง การสร้างคนที่มีคุณภาพ ด้วยการเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนทุนฯ ผ่านกิจกรรมอบรมจริยธรรม และทัศนศึกษา อย่างต่อเนื่องทุกปี รวมถึงส่งต่อความรู้ และทักษะด้านวิชาการ อาชีพ และจริยธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนทุนฯ ได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม รวมถึงก่อประโยชน์แก่ตัวเอง ครอบครัว และส่งต่อสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมต่อไป

จำนวนทุนการศึกษา

โครงการทุนการศึกษา บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด มอบทุนการศึกษา ให้แก่นักเรียนทุนฯ อย่างต่อเนื่องจนจบระดับปริญญาตรี โดยนักเรียนทุนฯ จะต้องส่ง “เอกสารขอทุนการศึกษาต่อเนื่อง” มาที่โครงการทุนฯ ทุกปี เพื่อขอรับการพิจารณามอบทุนการศึกษา หากผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์ที่โครงการทุนฯ กำหนด นักเรียนทุนฯ จะได้รับเงินทุนการศึกษา ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ตามรอบการพิจารณา ทั้งนี้ โครงการทุนการศึกษาฯ จะส่งเงินทุนการศึกษาไปที่สถาบันการศึกษาของนักเรียนทุนฯ ตามรอบการพิจารณา ซึ่งหลังจากนั้น สถาบันการศึกษาจะเป็นผู้ส่งมอบเงินทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนฯ โดยแต่ละสถาบันฯ จะใช้ระยะเวลาการส่งมอบไม่เท่ากัน ดังนั้น หากนักเรียนทุนฯ มีรายชื่อว่าได้รับทุนฯ ขอให้รีบติดต่อสถานศึกษาตามเวลาที่กำหนด เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวนักเรียนทุนฯ เอง

ระดับอุดมศึกษา อัตราเงินทุนการศึกษา 50,000 บาท/ปีการศึกษา ( ปรับเพิ่มใหม่ เริ่มปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป )

ปีการศึกษา 2566 โครงการฯ อนุมัติเงินช่วยเหลือกลุ่มสายวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่สูงมากขึ้น และเพื่อเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนทุนการศึกษา สามารถศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จจนจบในระดับปริญญาตรีต่อไป จำนวนทุนละ 30,000 บาท

ทุนการศึกษามูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง

      ความเป็นมาของโครงการทุนการศึกษามูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง

มูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง ได้ก่อตั้งโดย Mr.Carsten Friis Jespersen ชาวเดนมาร์ค เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เพื่ออุปการะการศึกษา เพื่อตอบแทนคุณของแผ่นดินไทย แม้ในปัจจุบันท่านเจ้าของทุน ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่มูลนิธิก็ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ร่วมบริจาคสนับสนุนมูลนิธิ และนายอายุส พัฒน์พงศ์พานิช คือผู้หนึ่งที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิ ท่านจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเครื่องกลจากประเทศเดนมาร์ก ได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นนายช่างวิศวกรที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับด้านการก่อสร้าง และเหมืองแร่ดินขาว ตลอดระยะการทำงาน นายอายุสได้ทุ่มเทความสามารถปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังจนประสบความสำเร็จ และเกษียณอายุการ ทำงานประจำเมื่ออายุ 55 ปี จากนั้น ใช้เวลาส่วนใหญ่กับครอบครัว และทำงานสาธารณกุศลต่าง ๆ ผ่าน “มูลนิธินาย ห้างโรงปูนผู้หนึ่ง” อาทิ มอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ นอกจากนี้ ยังถวายที่ดิน และบริจาคเงิน เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และบริจาคเงินช่วยเหลือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย นายอายุส สมรสกับท่านผู้หญิงสุวรรณี พัฒน์พงศ์พานิช มีธิดา 2 คน ปัจจุบันสำนักงานมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 93 ถนนริมคลองประปา แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ยังมอบทุนการศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะทุน  : ทุนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา (ตามระยะเวลาของหลักสูตร)

คุณสมบัติผู้รับทุน :      

1. เป็นนักศึกษาภาคปกติ

2.เป็นนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความตั้งใจที่จะศึกษาจนสำเร็จตามหลักสูตรปริญญาตรี   

3.เป็นผู้มีความประพฤติดี บำเพ็ญประโยชน์ให้กับส่วนรวม มีจิตอาสา

4.มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือตามที่มูลนิธินายห้างโรงปูนกำหนด       

5. เป็นผู้ซึ่งไม่ได้รับทุนต่อเนื่องอื่นอยู่แล้ว

จำนวนทุนที่ได้ต่อปี       : จำนวน 8 ทุน

จำนวนเงินทุน             : จำนวน 40,000 (เบิกจ่ายเป็น 2 งวด)

วิธีการคัดเลือก            : ผู้ขอรับทุนการศึกษาต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ

                                     พิจารณาคัดเลือกของมหาวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์และการไป

                                      เยี่ยมบ้านของนักศึกษา

มูลนิธิกรุงเทพประกันภัย

บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยมุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ จึงได้จัดโครงการมอบทุนการศึกษา “มูลนิธิกรุงเทพประกันภัย BANGKOK INSURANCE FOUNDATION” โดยมูลนิธิเป็นผู้ดำเนินการกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไข และระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนคัดเลือกเยาวชนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามระเบียบที่มูลนิธิกำหนด

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อคืนกำไรสู่สังคมในรูปของทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ
  2. เพื่อให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
  3. เพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้คู่คุณธรรมสามารถนำความรู้มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และของท้องถิ่นอันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในที่สุด
  4. เพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีจิตสาธารณะต่อสังคมโดยส่วนรวม

คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน

  1. เป็นผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐระดับปริญญาตรี ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
  2. เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกนักเรียนทุนมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย
  3. เป็นผู้ที่มีฐานะครอบครัวยากจน บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ไม่สามารถสนับสนุนให้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้ และขาดผู้อุปการะ
  4. รายได้รวมของครอบครัวที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 200,000 บาท/ปี
  5. ต้องไม่เป็นผู้ที่เป็นพี่ หรือน้อง บิดาหรือมารดา ได้รับทุนมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย และวัดดอยธรรมเจดีย์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา
  6. ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี มีคุณธรรม ขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ช่วยเหลือสังคมและรู้จักประหยัด อดออม
  7. มีผลการเรียนในเกณฑ์ดี มีเกรดเฉลี่ยประมาณ00

ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษา ประกอบด้วย 3 ประเภท

1.ทุนการศึกษาประเภท ก. พิจารณาให้ทุนการศึกษาแก่ผู้มีฐานะครอบครัวยากจน ขาดแคลน บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่สามารถสนับสนุนทุนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และขาดผู้อุปการะ ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี มีความประพฤติดี ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลนิธิฯ จะสนับสนุนทุนการศึกษา ดังนี้

  1. ค่าเล่าเรียน ค่าลงทะเบียน จ่ายให้ตามอัตราของมหาวิทยาลัย
  2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร หมายถึง ค่าอุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ
  3. ค่าครองชีพ หมายถึง ค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยคำนึงถึงหลักประหยัด
  4. ค่าหอพัก
  5. ค่าเครื่องแต่งกาย
  6. ทุนการศึกษาประเภท ข.พิจารณาให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ครอบครัวมีฐานะยากจนแต่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนเงินทุนบางส่วนจากครอบครัวผู้ปกครอง ทั้งนี้มูลนิธิฯ อนุญาตให้ผู้รับทุนได้รับเงินทุนบางส่วนจาก กยศ. ได้ โดยมูลนิธิฯ จะสนับสนุนทุนการศึกษา ดังนี้
  7. ค่าเล่าเรียน ค่าลงทะเบียน จ่ายให้ตามอัตราของมหาวิทยาลัย
  8. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร หมายถึง ค่าอุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ
  9. ค่าหอพัก
  10. ค่าเครื่องแต่งกาย
  11. ทุนการศึกษาประเภท ค.พิจารณาให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ครอบครัวมีฐานะยากจน และสามารถสอบเข้าศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งให้ทุนเฉพาะค่าเล่าเรียน ค่าลงทะเบียน โดยมูลนิธิฯ จะสนับสนุนทุนการศึกษา ดังนี้
  12. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร หมายถึง ค่าอุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ
  13. ค่าครองชีพ หมายถึง ค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยคำนึงถึงหลักประหยัด
  14. ค่าหอพัก
  15. ค่าเครื่องแต่งกาย

เงื่อนไขสำหรับผู้รับทุน

  1. ขณะรับทุนจากมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด
  2. ผู้ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนทุกคน จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
  • เข้ารับการปฐมนิเทศ และรับเงินทุนตามกำหนดเวลาที่คณะกรรมการแจ้งให้ทราบ
  • เมื่อผู้รับทุนทุกคนลงทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษาแล้ว ต้องสำเนารายวิชาตลอดหลักสูตร ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ส่งไปยังมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย
  • ส่งรายงานผลการศึกษาตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากแสดงยอดบัญชีครั้งล่าสุด ไปยังมูลนิธิฯทุกเดือน
  • ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จตามกำหนดเวลา ละเว้นจากอบายมุขทุกประเภทและประพฤติตนตามระเบียบการรับทุนที่กำหนดไว้

การเรียนในภาคฤดูร้อน

เนื่องจากมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย มีนโยบายให้ผู้รับทุนใช้เวลาในภาคฤดูร้อนให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ หลังจากคร่ำเคร่งจากการเรียนในภาคการศึกษาปกติ ดังนั้นจะพิจารณาอนุมัติให้ผู้ได้รับทุนเรียนภาคฤดูร้อนเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้

  1. เฉพาะหลักสูตรบางสาขาวิชาที่กำหนดให้เรียนภาคฤดูร้อน โดยผู้รับทุนจะต้องแจ้งให้มูลนิธิฯ ทราบตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา พร้อมสำเนารายวิชาตลอดหลักสูตร
  2. หากมีความจำเป็น เช่น จำเป็นต้องลงเรียนเพื่อให้จบตามเวลาของหลักสูตร หรือมีปัญหาด้านสุขภาพไม่สามารถลงเรียนในภาคปกติ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้รับทุนต้องขออนุมัติจากมูลนิธิฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์

การระงับการให้ทุน

เพื่อให้ผู้รับทุน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความานะ ขยันหมั่นเพียร มูลนิธิกรุงเทพประกันภัยจึงอาจระงับการให้ทุน หรือลดเงินทุน ดังต่อไปนี้

  1. ลาพักการศึกษา หรือถูกพักการศึกษา หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษา
  2. พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
  3. ผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของระเบียบการให้ทุนการศึกษามีความประพฤติไม่เหมาะสมกับสถานะการเป็นนิสิต นักศึกษา เช่น ขาดส่งรายงานประจำเดือน ติดต่อกัน 2 เดือน, เสพอบายมุข,ผู้ชายเจาะหู ไว้ผมยาว ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้น เป็นต้น
  4. สำหรับผู้รับทุนที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมโดยผู้รับทุนทุกคน ทุกชั้นปีจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมของมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากไม่เข้าร่วมกิจกรรมเลยในรอบ 2 ปี จะมีการพิจารณาตัดทุนในรอบปีการศึกษาถัดไป
  5. นำเงินทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของการได้รับทุน

 

ทุนการศึกษามูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ โครงการ “ทุนส่งน้องเรียนจบ” ปีการศึกษา 2566

มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ รับสมัครนักศึกษา ระดับชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลตามสาขาที่กำหนด ประจำปีการศึกษา 2566 มูลค่าทุนละ 30,000 บาท/ปี ต่อเนื่องจนจบการศึกษา จำนวน  30  ทุนทั่วประเทศ 

คุณสมบัติ

  1. นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตร 4 ปี 
  2. มีความประพฤติดีผลการเรียนเฉลี่ยจนถึงภาคการศึกษาล่าสุด 3.15 ขึ้นไป
  3. ขาดแคลนทุนทรัพย์ครอบครัวมีรายได้รวมไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี
  4. ไม่เป็นผู้ที่กำลังรับทุนการศึกษาจากที่อื่นยกเว้น เงินกู้ยืม (กยศ.)  หรือ  (กรอ.)
  5. อายุไม่เกิน 30 ปีณ วันที่ 1 มกราคม 2566
  6. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่มูลนิธิฯจัดขึ้นได้ตลอดระยะเวลารับทุน

สาขาวิชา

  • วิศวกรรมศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/ไอที
  • อุตสาหกรรมการเกษตร
  • คหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ)
  • โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร
  • สาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย/อนามัยสิ่งแวดล้อม
  • บริหารธุรกิจ /การเงิน/การบัญชี/การตลาด/การจัดการ
  • จิตวิทยา (วทบ.)
  • ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม
  • การเกษตรศาสตร์ (เกษตรกรรม/พืชสวน/พืชไร่/โรคพืช/สัตวบาล/สัตวศาสตร์/การประมง/ส่งเสริมการเกษตร)

ระดับอุดมศึกษา  รับสมัคร วันนี้ – 12 มกราคม  2567

รายละเอียดเพิ่มเติม

โทร 02-247-9547

มือถือ 082-614-1914,081-145-2780

E-mail ajtscholarship@gmail.com

 กรอกใบสมัครทางระบบออนไลน์ เว็บไซต์สมัครทุน : https://scholarship.ajinomotofoundation.or.th/ 

และนำส่งใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัคร งานแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์    กองพัฒนานักศึกษา ภายในวันที่  12  มกราคม  2567 เพื่อจะได้รวบรวมและจัดส่งเอกสารไปยังมูลนิธิฯ ต่อไป

ทุน 7 สี ช่วยชาวบ้าน

โครงการ 7 สี ช่วยชาวบ้าน สานฝันการศึกษา “ระดับอุดมศึกษา” รุ่นที่ 2

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินโครงการ 7 สี ช่วยชาวบ้าน สานฝันการศึกษา รุ่นที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนที่มีความประพฤติดี เรียนดี ให้มีโอกาสทางด้านการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนทุนในโครงการฯ ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 207 คน และมีความประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สายวิชาชีพที่เป็นพื้นฐานด้านการช่วยเหลือสังคม จำนวน 20 ทุน และ สายวิชาชีพที่เป็นพื้นฐานด้านธุรกิจสื่อสารมวลชน จำนวน 10 ทุน โดยในปีการศึกษา 2564 มีผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 1 ทุน

จำนวนทุนการศึกษา

  • โครงการฯ จ่ายเงินทุนการศึกษาทุนละ 40,000 บาท/ปีการศึกษา โดยจ่ายในรูปแบบเช็คผ่านระบบเจ้าหน้าที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • เป็นทุนให้เปล่าพิจารณาเป็นรายปี ไม่มีข้อผูกมัด โดยผู้รับทุนไม่ต้องใช้ทุนคืน

เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้ได้รับทุน

  • การจ่ายทุนการศึกษา โครงการ 7 สี ช่วยชาวบ้าน สานฝันการศึกษา “ระดับอุดมศึกษา” จะมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา โดยผ่านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ผู้รับทุนต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 00 ทั้งนี้การพิจารณามอบทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
  • ผู้รับทุนจะต้องช่วยเหลือ หรือร่วมกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัย

การติดตาม กำกับ ดูแลนักศึกษาระหว่างศึกษา

กองพัฒนานักศึกษา

  • ประสานติดตามใบเสร็จรับเงินทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา เพื่อส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ
  • ตรวจสอบสถานภาพการรับทุนการศึกษา ต้องเป็นผู้ไม่รับทุนได้รับทุนการศึกษาอื่น (ยกเว้นการกู้ยืม กยศ.)
  • รายงานสถานภาพและผลการเรียนของผู้รับทุน  โดยส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ  เพื่อแจ้ง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ทราบทุกภาคเรียน
  • ดูแลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทุนการศึกษา และกิจกรรมช่วยเหลือมหาวิทยาลัย

อาจารย์ที่ปรึกษา ดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติตนตามระเบียบของผู้รับทุน โดยเคร่งครัด

มูลนิธิทิสโก้ เพื่อการกุศล

เกี่ยวกับมูลนิธิ

มูลนิธิทิสโก้ เพื่อการกุศล เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานพัฒนาสังคมโดยไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ในขณะนั้น ซึ่งต่อมายกสถานะเป็นธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) โดยได้บริจาคทุนทรัพย์จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งมูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศล เมื่อปีพ.ศ. 2525 โดยมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือและพัฒนาสังคมตามกำลังความสามารถ นอกเหนือจากประกอบธุรกิจเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติโดยส่วนรวม

นับตั้งแต่ก่อตั้ง มูลนิธิทิสโก้ฯ ได้รับการสนับสนุนหลักจากธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับบริจาคทุนทรัพย์ตามแรงศรัทธาจากพนักงาน ตลอดจนลูกค้าและประชาชนทั่วไปเสมอ ทำให้เงินกองทุนมียอดเพิ่มตามลำดับและเกิดดอกผลเพื่อนำไปใช้บริจาคตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ          3 ประเภท ได้แก่ ทุนเพื่อการศึกษา ทุนรักษาพยาบาล และทุนประกอบอาชีพ

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2543 กระทรวงการคลังได้ประกาศให้มูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศลเป็นองค์กรหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 379 ของประกาศกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 135) ซึ่งหมายความว่าใบเสร็จรับเงินของมูลนิธิฯ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการหักเป็นค่าลดหย่อนในทางภาษีเงินได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  2. เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยอนาถา และทุพพลภาพด้วยการบริจาคอวัยวะเทียม และกายอุปกรณ์ต่าง ๆ
  3. เพื่อช่วยเหลือบุคคลผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพ
  4. ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

คุณสมบัติของผู้รับทุน

  1. กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จนถึงระดับปริญญาตรี
  2. มีฐานะยากจน
  3. ต้องมีผลการศึกษา คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ขึ้นไป
  4. มีความประพฤติเรียบร้อย ขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย และจริยธรรม
  5. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องจากหน่วยงานใด ๆ ในขณะที่ได้รับทุนจากมูลนิธิทิสโก้ เพื่อการกุศล
  6. ต้องเป็นผู้ไม่ได้รับเงินกู้ยืมจากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ประเภททุนการศึกษา

  • เป็นทุนการศึกษาต่อเนื่อง โดยผู้รับทุนต้องส่งแบบฟอร์มขอทุนต่อเนื่องทุกปี (สามารถส่งได้ทั้งแบบเอกสาร และแบบออนไลน์)
  • ระดับอุดมศึกษา อัตราเงินทุนการศึกษา 15,000 บาท/ปี (ปรับเพิ่มใหม่ เริ่มปี 2566 เป็นต้นไป)

ทุนการศึกษา ศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา  กีระนันทน์

          ด้วย ศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ มีความประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา ให้แก่นางสาวดุจเดือน พันธ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ โดยจะโอนเงินบริจาคให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นรายปี ๆ ละ 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี  (ปี 2565-2568)

          วัตถุประสงค์ของการบริจาคเงินทุนการศึกษาแต่ละปี ดังนี้

  1. ค่าบำรุงการศึกษา 2 ภาคเรียน                                                           13,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาพิเศษสำหรับฝึกทักษะปฏิบัติ 2 ภาคเรียน            2,000 บาท
  3. ค่าหอพักในมหาวิทยาลัย 2 ภาคเรียน                                                 11,400 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์การเรียน 2 ภาคเรียน                                                           4,000 บาท
  5. ค่าเครื่องแต่งกาย 2 ภาคเรียน                                                             1,000 บาท
  6. ค่าใช้จ่ายรายเดือนช่วงเปิดภาคเรียน ภาคที่ 1 เดือนละ 3,000 บาท       12,000 บาท
  7. ค่าใช้จ่ายรายเดือนช่วงเปิดภาคเรียน ภาคที่ 2 เดือนละ 3,000 บาท       12,000 บาท

                                                                             รวม               55,400 บาท

          สำหรับส่วนที่เหลือ จำนวน 4,600 บาท ขอมอบให้คณะครุศาสตร์จัดเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของคณะที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามที่คณะเห็นสมควรต่อไป

          ในปีการศึกษา 2567 ศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ มีความประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา ให้แก่นางสาวดุจเดือน พันธ์ชัย เพิ่มจำนวนเงินทุนจาก 60,000 บาท เป็น 80,000 บาท

กองทุน “คุณรุจิราภรณ์ หวั่งหลี”

ด้วย “กองทุนเพื่อการศึกษาโดยคุณรุจิราภรณ์ หวั่งหลี” มีความยินดีช่วยเหลือและสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน/นักศึกษา ที่มีความประพฤติดี มุ่งมั่นใฝ่เรียนรู้ ผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวนเงินทุน 20,000 บาท

โดยจะแบ่งจ่ายเป็นปีละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งจำนวน โดยทางกองทุนฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีของสถานศึกษาและให้ทางสถานศึกษาโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียน / นักศึกษา และควบคุมดูแลการเบิกใช้เงิน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น หากกองทุนฯ พบว่ามีการใช้เพื่อการอื่นนักเรียน / นักศึกษา จะถูกตัดสิทธิ์รับทุนการศึกษาในปีต่อไป โดยกองทุนคุณรุจิราภรณ์ หวั่งหลี พิจารณาคัดเลือกนักศึกษาและส่งรายชื่อนักศึกษาให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลนักศึกษา

มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า ฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์

มูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเด็กและเยาวชน (รวมทั้งสามเณร) ประพฤติดียากไร้ที่ขัดสนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ   เริ่มต้นด้วยจำนวน  ๒๕๒๕  คน  ให้ได้มีโอกาสรับการศึกษาและการอบรมคุณธรรมอย่างต่อเนื่องจนสามารถประกอบอาชีพที่สุจริตได้ตามอัตภาพของตน เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญช่วยกันรับช่วงสืบทอดรักษาเอกราช วัฒนธรรมและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต

ชื่อ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน มีความหมายว่า ประชาชนทุกคนที่เห็นความสำคัญ
ของการให้การศึกษา และการอบรมคุณธรรมแก่เยาวชน ร่วมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์และแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของเรา  ผู้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและพัฒนาประเทศชาติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

มูลนิธิฯ  นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูของประชาชนชาวไทย  ทั้งภายใน และภายนอกประเทศที่ระลึกถึงพระคุณ และคุณงามความดีของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และบรรพบุรุษที่ได้รักษาเอกราชและความมั่นคงของประเทศไว้ให้ชาวไทย  สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความภูมิใจในเอกราชประชาธิปไตยของประเทศตลอดมานี้  จึงเป็นหน้าที่ของเราชาวไทยทุกคนที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันช่วยเยาวชนที่ยากไร้และประพฤติดี ให้ได้รับการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัตภาพของตน จนสามารถพิทักษ์รักษาประเทศชาติสืบต่อไปได้

 โดยมีจำนวนเงินกองทุน ดังนี้

  1. กองทุนถาวร ในนามผู้บริจาค หมายถึง บริจาคเงินทั้งจำนวน เพื่อนำเฉพาะดอกผลให้เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนตลอดไป กล่าวคือเมื่อเยาวชนคนเดิมจบการศึกษาและไม่ศึกษาต่อ มูลนิธิฯ จะคัดเลือกเยาวชนคนใหม่ให้อยู่ในความอุปการะต่อเนื่อง ตลอดไปเนื่องในโอกาสที่มูลนิธิฯ ครบรอบก่อตั้ง 40 ปี ในปี 2565 และเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบันที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการมูลนิธิฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มจำนวนเงินทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้รับทุนมูลนิธิฯ ทุกระดับการศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 ดังนี้
             1.1 ระดับประถมศึกษา – สามเณร (พระภิกษุ) จากทุนละ 3,000 บาท เป็นทุนละ 3,500 บาท กองทุนถาวร 234,000 บาทต่อคน
             1.2 ระดับมัธยมศึกษา จากทุนละ 4,000 บาท เป็นทุนละ 4,500 บาท กองทุนถาวร 300,000 บาทต่อคน
             1.3 ระดับอาชีวศึกษา – อุดมศึกษา จากทุนละ 8,000 บาท เป็นทุนละ 9,000 บาท กองทุนถาวร 600,000 บาทต่อคน
    หมายเหตุ ปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่สำหรับกองทุน จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 1.5 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป
  2. กองทุนรายปี หมายถึง บริจาคเงินให้เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนเป็นรายปีจนเยาวชนจบการศึกษาชั้นสูงสุดในแต่ละระดับ ดังนี้
    2.1 ระดับประถมศึกษา ทุนละ 3,500 บาท หรือ 5 ปี (ป.2 – ป. 6) เป็นเงิน 17,500 บาท
    2.2 ระดับมัธยมศึกษา ทุนละ 4,500 บาท หรือ 6 ปี (ม.1 – ม. 6) เป็นเงิน 27,000 บาท
    2.3 ระดับอาชีวศึกษา ทุนละ 9,000 บาท หรือ 3 ปี (ปวช.1 – ปวช.3) เป็นเงิน 27,000 บาท
    2.4 ระดับอุดมศึกษา ทุนละ 9,000 บาท หรือ 4 ปี (ปี 1 – ปี 4) เป็นเงิน 36,000 บาท
    2.5 ระดับสามเณร ทุนละ 3,500 บาท หรือ 3 ปี (ม.1 – ม.3) เป็นเงิน 10,500 บาท
    2.6 วิชาชีพระยะสั้นหลักสูตร 1 ปี ทุนละ 4,500 บาท
    2.7 ให้ทุนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนจบระดับอุดมศึกษา เป็นเงิน 80,500 บาท