การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รุ่นที่1 โครงการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมแก่นักศึกษาและน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2564
งานส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนักศึกษา กองพัฒนานักศึกษาจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รุ่นที่ 1
โครงการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมแก่นักศึกษาและน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ผู้เข้าร่วม เป็น คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จากคณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้นจำนวน 113 คน

กิจกรรมประกอบไปด้วย พิธีเปิดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา ธรรมวินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
กล่าวรายงาน โดย นายนิรุตย์ วิชาชาติ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนักศึกษา
บรรยายถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของ วิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีราธาร ศรีมหา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
วิทยากรหลักในการอบรม โดย ดร.พสุธา โกมลมาลย์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
และวิทยากรผู้ช่วย (แม่ไก่) โดย
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา จากคณะครุศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประธานสภานักศึกษา
นายกองค์การบริหารนักศึกษา
นายกสโมสรนักศึกษาทุกคณะ
ทีมวิทยากรจากสภานักศึกษา และองค์การบริหารนักศึกษา
และ บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา
โดยอบรมตามหลักสูตร “วิศวกรสังคม” เพื่อให้เกิดทักษะ 4 ทักษะดังนี้
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ – การคิดโดยเห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผล คิดอย่างมีวิจารณญาณต่อเหตุการณ์/ข้อมูล และตัดสินใจจากหลักฐานและเหตุผลที่ถูกต้อง โดยไม่นำอารมณ์และทิฐิมาประกอบการ สามารถสร้างข้อสรุปจากฐานได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ตลอดจนการเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย
2) ทักษะการสื่อสาร – สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่มี และ เปิดรับองค์ความรู้ที่ชุมชนมี เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้
3) ทักษะการประสานงาน – สามารถทำงานร่วมกันโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้
4) ทักษะการสร้างนวัตกรรมชุมชน – สามารถกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้
ผ่านการเรียนรู้ ฝึกใช้ เครื่องมือทั้งสิ้น 7 เครื่องมือ ดังนี้
1) กิจกรรม ทำไมเราถึงถกเถียงกัน มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร
1.1 เพื่อให้เข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
1.2 เพื่อให้ได้ข้อสรุป/ ประเด็นร่วมในการดำเนินงานต่อไปนี้
2) กิจกรรม แผนที่เดินดิน มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน
2.1 เพื่อทำความเข้าใจชุมชนในภาพรวม
2.2 เพื่อใช้ในการเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำงานชุมชนต่อไป
2.3 เพื่อค้นหาศักยภาพชุมชน
3) กิจกรรม นาฬิกาชีวิต-ปฏิทินชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน
3.1 เพื่อให้ได้เวลาร่วมของคนในชุมชนเพื่อใช้ในการทำกิจกรรม
3.2 เพื่อให้ได้กิจกรรมร่วมและกิจกรรมเด่นของชุมชน
3.3 เพื่อเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของชุมชน
4) กิจกรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน
4.1 เพื่อค้นหาทุนทางสังคมของชุมชน
4.2 เพื่อเข้าใจพลวัตทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของชุมชน
5) กิจกรรม Time line พัฒนาการ และ Timeline กระบวนการ มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน
5.1 เพื่อเข้าใจความเป็นมาและพัฒนาการของประเด็น / ผลิตภัณฑ์ / กลุ่ม ที่สนใจศึกษา
5.2 เพื่อเข้าใจกระบวนการและสามารถปรับปรุงประเด็น / ผลิตภัณฑ์ / กลุ่ม ที่สนใจศึกษาให้ดีขึ้น
6) กิจกรรม กระบวนการ A-I-C มุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ / ทักษะการสื่อสาร /ทักษะการประสานงาน และทักษะการสร้างนวัตกรรมชุมชน
6.1 เพื่อลดความขัดแย้งของการทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชน
6.2 เพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการพัฒนาชุมชนได้
7) กิจกรรม การเขียนโครงการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถเขียนข้อเสนอโครงการของบประมาณเพื่อการทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนได้
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ เน้นทั้งการฝึกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทั้งจากผู้ให้ข้อมูลในสถานการณ์จำลอง และการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อฝึกใช้เครื่องมือในสถานการณ์จริง โดยลงศึกษาชุมชม 3 ชุมชน ได้แก่
1. ชุมชนบ้านดอกกกยาง ตำบลเหล่าปอแดง
2 ชุมชนบ้านโคกสะอาด ตำบลอุ่มจาน
และ 3 ชุมชนบ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง

เครดิตภาพถ่ายโดย : องค์การบริการนักศึกษาภาคปกติ